ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

สำหรับบุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น  (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

 

1.) ให้บุคลากรและนักศึกษาที่ประสงค์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเรียน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ (ทั้งนี้ท่านสามารถส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ฯ แยกกับเอกสารในข้อ 2.) ได้)   หนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

สามารถส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ได้ที่ นางสาวหทัยภัทร ไชยนาพันธ์ งานวิจัย บัณฑิตศึกษาและการต่างประเทศ ชั้น 2 ตึกเพียรวิจิตร  โทร 043-009-700 ต่อ 50217  , โทรภายใน  50217    e-mail :  hatach@kku.ac.th 

2.) ให้บุคลากรและนักศึกษาประสงค์จะยื่นคำขอฯ เตรียมข้อมูลการประดิษฐ์ เนื้อหารายละเอียดตามไฟล์ข้อ ก.- ฉ. และ ส่งไฟล์ในรูปแบบ Microsoft Word ไปยัง e-mail: ip@kku.ac.th โดยท่านสามารถศึกษา ตัวอย่างการเขียนคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 🌐 หรือ คำชี้แจงในการเตรียมคำขอ  🌐

ก. แบบฟอร์ม Invention disclosure

ข. รายละเอียดการประดิษฐ์

รายละเอียดต้องระบุหัวข้อเรื่องตามลำดับ ดังต่อไปนี้

  • ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์

คำอธิบาย : ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ ต้องเป็นชื่อสามัญทั่วไป เข้าใจง่าย ไม่ใช้ชื่อเฉพาะที่ตั้งขึ้นเองหรืออวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

  • สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์

คำอธิบาย : สามารถใส่สาขาวิทยาการได้มากกว่า 1 สาขา แต่ต้องมีสาขาหลัก 1 สาขา  เช่น

สาขาวิศวกรรมทางการแพทย์และคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ผ่าตัดช่องท้องที่บังคับผ่านระบบสัญญาณไร้สาย

  • ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง

        คำอธิบาย : เนื้อหาที่จะเขียนในหัวข้อนี้ประกอบด้วย

– ข้อมูลต่างๆ ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์

– ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสาขาวิทยาการนั้น

– การประดิษฐ์ที่มีก่อนหน้า โดยสรุป (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรที่ยื่นจดก่อนทั้งใน/ต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย งานที่มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่) โดยอธิบายว่า การประดิษฐ์นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง / มีขั้นตอนอย่างไร/แสดงข้อจำกัด/ ความแตกต่างอธิบายพอสังเขปเพื่อชี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง

– แนวทางการแก้ไขปัญหาซึ่งสามารถผ่านข้อจำกัดของการประดิษฐ์ก่อนหน้า จนก่อให้เกิดการประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้น

  • ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์

        คำอธิบาย : ระบุลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ และ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์  โดยย่อ ควรแบ่งเป็น 2 ย่อหน้า ดังนี้

        – ลักษณะของการประดิษฐ์ที่จะคุ้มครองโดยสรุป (กล่าวถึงรูปร่าง/ลักษณะ/หน้าที่ โดยย่อ)

       – การประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมีความมุ่งหมาย(วัตถุประสงค์) คือ… (กล่าวถึงเหตุผล/ปัญหาที่ทำให้เกิดการคิดค้น/พัฒนา โดยอาจอธิบายส่วนประดิษฐ์ที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อแก้ปัญหาอะไรด้วยก็ได้)

  • การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์

         คำอธิบาย : .ให้บรรยายรายละเอียดการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิ โดยสมบูรณ์ และชัดแจ้ง โดยระบุถึง…  

         – ลักษณะโครงสร้าง / องค์ประกอบ ของการประดิษฐ์

         – การเชื่อมต่อ / หน้าที่

         – ขั้นตอนต่าง ๆ (กรณียื่นคุ้มครองขั้นตอน) ให้เขียนอธิบายขั้นตอนดังกล่าวตั้งแต่ต้นจนจบ จนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายออกมาตามกรรมวิธีนั้นๆ

         – ผลดีของการประดิษฐ์ตลอดจนตัวอย่างที่จะแสดงถึงการประดิษฐ์นั้น ๆ

         – ผลการทดลอง หรือผลทดสอบเปรียบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเด่นของการประดิษฐ์

         – วิธีการใช้ (ถ้ามี)

  • คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ

คำอธิบาย : ต้องเป็นคำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ ห้ามเขียนยืดยาว/ ห้ามใส่รูปประกอบ เช่น

        ถ้าไม่มีรูปประกอบ ไม่ต้องใส่หัวข้อ “คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ”

รูปที่ 1 แสดงถึง….

รูปที่ 2 กราฟผลการทดสอบ…

  • วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด

เหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์

ค. รูปเขียน (ถ้ามี)

ง. ข้อถือสิทธิ

จ. บทสรุปการประดิษฐ์

ฉ. หนังสือยืนยันประเภทในการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์อนุสิทธิบัตร

*** กรณีการประดิษฐ์ (หมายรวมถึงกรรมวิธี) ที่นำมายื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีการใช้พืช เห็ด สาหร่าย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เห็ด หรือสาหร่ายดังกล่าวมาเป็นส่วนประกอบในสิ่งประดิษฐ์ หรืออยู่ในขั้นตอนกรรมวิธีนั้น ๆ จะต้องมีการยื่น “คำขออนุญาตเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปพันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัย เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ตาม พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (มาตรา 52) โดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา จะเป็นผู้ดูแลในการยื่นคำขออนุญาตฯ ดังกล่าว ทั้งนี้นักวิจัยจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นคำขออนุญาตฯ ตามที่ศูนย์ฯ ระบุไว้

3.) ศูนย์ฯ จะดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของคำขอ และส่งให้ผู้ประดิษฐ์ตรวจสอบ

4.) หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จะจัดทำเอกสารประกอบ (หนังสือสัญญาโอนสิทธิ) ส่งให้ผู้ประดิษฐ์และคณะลงนาม (โดยคณะผู้ประดิษฐ์แนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ท่านละ 1 ฉบับ โดยไม่ต้องลงวันที่กำกับ)

5.) ศูนย์ฯ รวบรวมเอกสารและส่งให้รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจลงนาม

6.) ศูนย์ฯ ส่งเอกสารไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

**************************************************************************************************

หมายเหตุ
– การดำเนินการต่างๆ ขั้นตอนที่ 2-5 ใช้เวลาประมาณ 2- 4 สัปดาห์ (ทั้งนี้ระยะเวลาอาจมากกว่านี้ ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน
ที่ต้องแก้ไข ระยะเวลาในการเตรียม/การลงนามเอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ และลำดับคิวคำขอฯ ที่ยื่นมาก่อนหน้า)
– การดำเนินการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจนได้หนังสือรับรอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ใช้เวลา ประมาณ 5 ปี ขึ้นไป /
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ ใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี/ อนุสิทธิบัตร ใช้เวลา ประมาณ 2-3 ปี

 

ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นจดลิขสิทธิ์

สำหรับบุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

 

1.) ให้บุคลากร/นักศึกษาที่ประสงค์จะยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ โดยส่งถึงรองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ในรูปแบบกระดาษ หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ หนังสือแจ้งความประสงค์ยื่นคำขอลิขสิทธิ์ (จะส่งพร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ หรือส่งแยกต่างหากก็ได้)

สามารถส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ได้ที่ นางสาวหทัยภัทร ไชยนาพันธ์ งานวิจัย บัณฑิตศึกษาและการต่างประเทศ ชั้น 2 ตึกเพียรวิจิตร  โทร 043-009-700 ต่อ 50217  , โทรภายใน  50217    e-mail :  hatach@kku.ac.th 

โดยมีเอกสารประกอบการยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ดังนี้

1.) แบบฟอร์มประกอบคำขอยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ สำหรับบุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ส่งเป็นไฟล์ PDF หรือ Microsoft Word

2.) สำเนาบัตรผู้สร้างสรรค์ทุกคน (บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงาน/บัตรประชาชน)

3.) ผลงานที่ใช้ในการยื่นคำขอ
วรรณกรรม -> ไฟล์ผลงาน** ส่งเป็นไฟล์ PDF **
• งานนิพนธ์ -> หน้าปก + เนื้อหา (ทั้งหมด หรือ 5 หน้าแรก + 5 หน้าสุดท้าย)
• โปรแกรมคอมพิวเตอร์ -> Source code (ทั้งหมด หรือ 5 หน้าแรก + 5 หน้าสุดท้าย)
ดนตรีกรรม -> เสียงบันทึก ** ส่งเป็นไฟล์ MP3/Audio file หรือ โน้ตเพลง/เนื้อเพลง ** ส่งเป็นไฟล์ Word/PDF **
นาฏกรรม -> ภาพการแสดง หรือ วิดีโอ พร้อมคำบรรยายประกอบท่าทางทุกขั้นตอน ** ส่งเป็นไฟล์ VDO (AVI/MP4)/Word/PDF **
ศิลปกรรม -> ภาพผลงาน ** ส่งเป็นไฟล์ JPG **
• จิตรกรรม
• ประติมากรรม (ภาพผลงาน 4 ด้าน : ซ้าย ขวา หน้า หลัง)
• ภาพพิมพ์
• สถาปัตยกรรม
• ภาพถ่าย
• ศิลปะประยุกต์ / ภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้างฯ
ภาพยนตร์ -> ภาพยนตร์ หรือ Teaser ผลงาน ** ส่งเป็นไฟล์ VDO (AVI/MP4) **
โสตทัศนวัสดุ -> วิดีโอผลงาน ** ส่งเป็นไฟล์ VDO (AVI/MP4) **
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ -> ภาพ/เสียงบันทึก ** ส่งเป็นไฟล์ VDO/MP3/Audio file **
สิ่งบันทึกเสียง -> เสียงบันทึกผลงาน ** ส่งเป็นไฟล์ MP3/Audio file **
งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ -> ภาพถ่ายผลงาน ** ส่งเป็นไฟล์ JPG **

ช่องทางในการยื่นเอกสาร สามารถเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ในการยื่นได้ ดังนี้
1. ยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2
2. ยื่นผ่านสารบรรณคณะ/หน่วยงาน ของผู้สร้างสรรค์
3. ยื่นทางอีเมล์ -> จิตตะวดี หล้าหา : jittla@kku.ac.th

ระยะเวลาในการดำเนินการ
1. การจัดทำคำขอของเจ้าหน้าที่ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาใช้เวลา 3-5 วัน
2. การออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ของกองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้เวลา 1-2 เดือน
(ขึ้นอยู่กับปริมาณคำขอของกองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา)

 

 

ที่มา :  ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มข.

 

 

 

 

เจ้าของเรื่อง : หทัยภัทร ไชยนาพันธ์  โทร. 043-009-700 ต่อ 50217  หรือ เบอร์ภายใน 50217   email: hatach@kku.ac.th