รศ.ดร.กานดา   สายแก้ว  รองคณบดีฝ่ายวิจัย  บัณฑิตศึกษาและอุตสาหกรรมสัมพันธ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยถึงการเข้าร่วมโครงการการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มผลผลิต/การอ้างอิงของผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยสู่ฐานข้อมูลสากล ซึ่งจัดตั้งโดย สกว. และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยใช้กลไกการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัย (University Consortium) ระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 35 แห่งทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารไทยให้มีมาตรฐานสากล และผลักดันให้ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus โดยมีเป้าหมายที่จะนำวารสารไทยจำนวน 40 วารสาร เข้าสู่ฐานข้อมูลสากล Scopus ภายใน 3 ปี   ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา  โครงการฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยเป็นอย่างมาก จนได้รับการยอมรับเพื่อบรรจุในฐานข้อมูล Scopus แล้ว ซึ่งวารสาร Engineering and Applied Science Research ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการตอบรับบรรจุในฐานข้อมูล Scopus โดยใช้เวลาในการพิจารณาเพียง 8 วันเท่านั้น

ซึ่งตามโมเดลประเทศไทย 4.0 กลไกสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ คือการยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การตั้งโจทย์วิจัย การดำเนินงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งต่อยอดและสร้างนวัตกรรมต่อไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในระดับนานาชาติ  ดังจะเห็นได้จากในช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2005-2017) มีจำนวนวารสารไทยอยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus (ฐานข้อมูลสากลที่รวบรวมวารสารจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวนประมาณ 24,000 วารสาร และเป็นฐานข้อมูลหลักที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก) เพียง 26 วารสาร ทั้งนี้ Scopus ใช้เวลาในการพิจารณาวารสารไทยเข้าฐานข้อมูลเฉลี่ย 16 เดือน/วารสาร และอัตราการรับวารสารไทยเข้าฐานข้อมูลนี้อยู่ที่ 23% เท่านั้น ดังนั้น สกว. และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มผลผลิต/การอ้างอิงของผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยสู่ฐานข้อมูลสากล  โดยใช้กลไกการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัย (University Consortium) ระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 35 แห่งทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารไทยให้มีมาตรฐานสากล และผลักดันให้ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus โดยมีเป้าหมายที่จะนำวารสารไทยจำนวน 40 วารสาร เข้าสู่ฐานข้อมูลสากล Scopus ภายใน 3 ปี   ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา  โครงการฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยเป็นอย่างมาก จนได้รับการยอมรับเพื่อบรรจุในฐานข้อมูล Scopus แล้ว 10 วารสาร โดยมีอัตราการรับวารสารเป็น 100% และใช้เวลาในการพิจารณาเพียง 3-72 วันเท่านั้น

สำหรับทั้ง10 วารสารดังกล่าว เป็นวารสารในสาขาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย สาขาสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 วารสาร คือ 1) Tropical Natural History จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) Environment and Natural Resources Journal มหาวิทยาลัยมหิดล 3) GMSARN International Journal ของ Asian Institute of Technology (AIT)   สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 1 วารสาร คือ Pharmaceutical Sciences Asia มหาวิทยาลัยมหิดล

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 4 วารสาร คือ 1) Engineering and Applied Science Research มหาวิทยาลัยขอนแก่น  2) Suranaree Journal of Science and Technology มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  3) Journal of Metals, Materials and Minerals  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4) Thailand Statistician สมาคมสถิติแห่งประเทศไทย   และสาขาสังคมศาสตร์ 2 วารสาร คือ 1) Journal of Population and Social Studies มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) ABAC Journal มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

In this article