งานวิจัย โครงการ spearhead ด้านเศรษฐกิจ

379
รศ.ดร.ขวัญตรี และดร.อาทิตย์ และทีมงานวิจัย นักศึกษา แถลงผลงานวิจัย โครงการ spearhead ด้านเศรษฐกิจ การวิจัยสู่ปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดอุตสาหกรรมไทย แพลตฟอร์มหุ่นยนต์และโดรนเพื่อการเกษตร ความร่วมมือระหว่าง ม.ขอนแก่น HG Robotics หัวเสือลูกโลก ของเรา จบโครงการปีที่ 2 แล้ว มีผลงานวิจัยเพิ่มเติมเป็น
– โมเดลแนะนำการให้ปุ๋ยจากภาพถ่ายโดรน
– เครื่องผสมสารอัตโนมัติ สำหรับโดรน ลดการสัมผัสสารเคมี ผสมได้ดีและเร็วกว่าคน ใช้น้ำน้อยไม่ตกตะกอน รับข้อมูลและตวงสารอัตโนมัติจากแผนที่ความต้องการปุ๋ยของอ้อยในแปลง
– โดรนแปรผันอัตราการฉีดพ่น และขนาดละอองอัตโนมัติ
-ชุด kit ที่ติดตั้งกับรถแทรกเตอร์ เพื่อให้ติดตามการทำงาน ไกด์แนวแถวที่ไถหรือปลูก บันทึกปริมาณงานที่ทำเสร็จ และวางแผนงาน และแสดงใน Machine dash board ได้
ส่วนระบบประมวลผลภาพจากโดรนในปีที่ 1 ทั้งการวัดความสูงของพืชในแปลง หรือความสูงของกองวัสดุด้วยวิธีใหม่ที่เราพัฒนาขึ้นเอง การประเมินความอุดมสมบูรณ์ การประเมินผลผลิต ได้ไปให้บริการจริงแล้วมากกว่า 10 บริษัท สร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาท ในปีนี้ และรายได้ส่วนหนึ่งจ่ายกลับมาเป็นค่ากรรมสิทธิ์ผลงานวิจัยเป็นรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย
ในการแถลงข่าว ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.ณัฐพล รังสิตพล ซึ่งเป็นประธานกรรมการของโครงการเรา ช่วยให้คำแนะนำและสนับสนุนโครงการของเรามาตลอด
ท่านกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของกรมที่มุ่งเน้นการนำงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริง นำวิศวกรรมสู่เกษตรกรรม
เปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตร
เปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่คำถึงถึงการบริหารจัดการ/แชร์ทรัพยากร ตามแบบอุตสาหกรรม ภายใต้ความเข้าใจในเงื่อนไขจำนวนมากที่ควบคุมไม่ได้ของการเกษตร
ท่านเห็นว่าระบบ FPS ของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยตอบโจทย์การเปลี่ยนโฉมการเกษตรของเราครั้งใหญ่ครั้งนี้ และท่านก็ช่วยส่งเสริม ผลักดัน และให้กำลังใจมาตลอด รวมถึงผลักดันให้เกิดการประชาสัมพันธ์ผลงานรอบนี้ด้วย ทำให้ครั้งนี้เรามีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 100 คน และ บ.ต่างๆ จากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล และมันสำปะหลัง เข้าร่วมอีก 12 บริษัท และผู้สื่อข่าว 10 สื่อ
นอกจากนี้ทาง สวทช. บพข. กสอ. และ
ท่าน Thidarut Boonmars ท่านรองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมฯ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.ขอนแก่น
ท่านคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ Ratchaphon Suntivarakorn
และท่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยฯ Chiranut Sa-ngiamsak
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวะ
ผู้ช่วยวิจัยและ นศ.จากห้องวิจัย Bio-Sensing and Field Robotic Laboratory KKU
ที่ช่วยสนับสนุนงานนี้อย่างดีมาก ๆ ขอขอบพระคุณทุกท่านมากๆค่ะ
ในงานวิจัยที่จะไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง ยังเป็นก้าวแรกๆ ยังมีก้าวที่ยาก ๆ รออยู่อีกมาก แต่เราก็เชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้จะเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมเกษตรของไทยจริง ๆ แล้วก็ดีใจมาก ๆ ที่มีผู้ใหญ่ในหน่วยงานต่างๆจำนวนมากที่เชื่อเหมือนที่เราเชื่อ ทำให้เราอยากจะเดินหน้าต่อไปค่ะ
 
In this article