หลักสูตรอบรมโดรน

476
หลักสูตรฝึกอบรมภายใต้ความร่วมมือกับสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันโดรนถ่ายภาพมีความนิยมสูงขึ้น โดรนถ่ายภาพเหล่านี้นอกจะใช้ในการถ่ายภาพและวิดีโอมุมสูงทั่วไปแล้ว เรายังสามารถใช้ในการสร้างแผนที่ภาพสีความละเอียดสูง แผนที่แสดงระดับสูงต่ำหรือแผนที่ 3 มิติ และแผนที่ดัชนีพืชพรรณได้อีกด้วย
แผนที่ดัชนีพืชพรรณคืออะไร?
แผนที่ดัชนีพืชพรรณ หมายถึง แผนที่ที่สร้างขึ้นจากการนำค่าสี (หรือเรียกว่าค่าการสะท้อน) จากใบพืช มาคำนวณแล้วเอามาแสดงในรูปเฉดสีใหม่ ทำให้รู้ว่า พืชสมบูรณ์ดีที่คลอโรฟิลมาก หรือพืชกำลังแห้งเหี่ยวขาดน้ำ
แผนที่ดัชนีพืชพรรณยังสามารถใช้ในการแยก ส่วนที่เป็นพืช ดิน และวัชพืช ออกจากกันได้ ทำให้เราสามารถรู้ว่า ในแปลงนี้มีพืชที่สมบูรณ์กี่% พืชตายกี่% มีวัชพืชมากน้อยกี่% ทำให้เราสามารถวางแผนจัดการแปลงได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปประมวลผลในระดับสูงขึ้น เพื่อแยกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยอัตโนมัติ เช่น แยกพื้นที่เมือง แหล่งน้ำ พื้นที่เกษตร โดยอัตโนมัติ หรือ ใช้ในการประเมินระดับความสุกแก่และเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว รวมถึงวัดระดับธาตุอาหารในพืชที่สามารถนำไปปรับการให้ปุ๋ยตามความต้องการพืชได้
ส่วนแผนที่แสดงระดับสูงต่ำ สามารถนำมาใช้ประเมินความลาดเอียงของพื้นที่เพื่อใช้ออกแบบระบบน้ำ รวมถึงใช้ประเมินปริมาณผลผลิตแต่ละแปลงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้วัดปริมาตรวัสดุที่กองบนพื้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น กองขยะมูลฝอย กองชานอ้อยและวัสดุเกษตรสำหรับโรงงานไฟฟ้าชีวมวล เป็นต้น
จะเห็นว่าโดรนถ่ายภาพสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักสารสนเทศน์ทั้งในภาครัฐและเอกชน นักส่งเสริมการเกษตร นักสำรวจและประเมินวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงเกษตรกรยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนผ่านการจัดการที่แม่นยำ
หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานด้านประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศมาก่อนได้เรียนรู้วิธีการตั้งโหมดการถ่ายภาพเพื่อทำแผนที่ด้วยโดรนที่ถูกต้อง และนำภาพมาประมวลผลผ่านโปรแกรมต่าง ๆ อย่างถูกขั้นตอน จนได้เป็นแผนที่ภาพสี และแผนที่ดัชนีพืชพรรณ รวมถึง ยกตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ สำหรับพืชไร่ นา และพืชสวน
การอบรม
– เป็นการฝึกอบรม+workshop แบบออนไลน์
– สอนวิธีใช้โปรแกรมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่รู้อะไรมาก่อนเลยก็เรียนได้
– มีชุดข้อมูลให้ลองฝึกการใช้งานจริงทุกคน พร้อมผู้ช่วยวิทยากรให้คำแนะนำเป็นรายกลุ่มย่อย
– ฝึกอบรม 12 ชม. (วันเสาร์และอาทิตย์วันละ 6 ชม.)
– ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
ใครสนใจ สมัครผ่านเวบไซท์ของสมาคมวิศวกรรมเกษตร หรือสแกน QR code ได้เลยค่ะ
รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้สมาคมวิศวกรรมเกษตรในการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการ เช่น วารสารหรือจัดประชุมวิชาการ ฯลฯ พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ผู้ที่จะมาช่วยคิดค้น และพัฒนานวัตกรรมด้านวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะของประเทศต่อไปค่ะ
In this article