หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) จากสภาวิศวกร เพื่อเป็นการรับรองว่าการเรียนการสอนและการศึกษา มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงสากลด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์  และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษามีผลลัพธ์การศึกษาตามลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสอดคล้องกับข้อตกลงสากลทางด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์



การรับเข้าศึกษา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะดำเนินการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และผลิตนักวิชาการ และนักวิชาชีพชั้นสูง เพื่อไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการนี้ มหาวิทยาลัยได้แบ่งประเภทการรับเข้าศึกษา เป็น 5 รอบดังนี้

  • รอบที่ 1 (แบบ Portfolio) หรือเป็นการรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูง หรือนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
  • รอบที่ 2 (แบบโควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • รอบที่ 3 (แบบรับตรงร่วมกันทั่วประเทศ)
  • รอบที่ 4 (แบบ Admission)
  • รอบที่ 5 (แบบรับตรงอิสระ)

(จำนวนที่รับ และรอบการรับสมัคร อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละปีการศึกษา)

ผู้สนใจเข้าศึกษาสามารถเข้าไปที่ http://admissions.kku.ac.th เพื่อดูรายละเอียดการรับสมัครเพิ่มเติมได้

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ข้อมูลทั่วไป

1.     รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:       หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ภาษาอังกฤษ:   Bachelor of Engineering  Program in Industrial Engineering

2.     ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):       วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย):        วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):   Bachelor of Engineering (Industrial Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):    B.Eng. (Industrial Engineering)

3.     วิชาเอก

4.     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

141 หน่วยกิต

5.     รูปแบบของหลักสูตร

5.1      รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี  หลักสูตร 4 ปี

5.2      ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

5.3      ภาษาที่ใช้

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษบางรายวิชา

5.4      การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี

5.5      ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

ไม่มี

 

5.6      การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6.     สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2560

คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 21/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564

สภาวิชาการของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565

เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

7.     ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2553 ในปีการศึกษา 2566

8.     อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ทำงานในหน่วยงานเอกชน – โรงงานอุตสาหกรรม ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          วิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer)

–          วิศวกรการผลิต (Production Engineer)

–          วิศวกรโรงงาน (Plant Engineer)

–          วิศวกรคุณภาพ (Quality Engineer)

–          วิศวกรวัสดุ (Materials Engineer)

–          วิศวกรระบบ (System Engineer)

–          วิศวกรโลจิสติกส์ (Logistics Engineer)

–          วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)

–          วิศวกรซ่อมบำรุง (Maintenance Engineer)

นอกจากนี้แล้วยังมีงานอีกมาก เช่น งานติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ งานให้คำปรึกษาในการผลิตและลดต้นทุน งานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ฯลฯ

ทำงานในหน่วยงานรัฐ – รัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          กรมโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม

–          กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

–          สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

–          สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

–          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

–          การประปานครหลวง

–          การประปาส่วนภูมิภาค

–          การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

–          การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

–          การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

–          ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  National Metal and Materials Technology Center (MTEC)

–          ฯลฯ

ทำงานในธนาคารพาณิชย์ คลังสินค้า สถานประกอบการต่างๆ

เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง – ขนาดย่อม (SMEs)

การเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถสร้างผู้ประกอบการ SMEs จากพื้นฐานการศึกษาและการฝึกอบรมด้านความเป็นไปได้ของโครงการ การวางแผนธุรกิจ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การบริหารงานอุตสาหกรรม ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ

           เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:       หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
หลักสูตรนานาชาติ

ภาษาอังกฤษ:   Bachelor of Engineering Program in Logistics Engineering

International Program

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):       วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์) หลักสูตรนานาชาติ

ชื่อย่อ (ภาษาไทย):        วศ.บ. (วิศวกรรมโลจิสติกส์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):   Bachelor of Engineering (Logistics Engineering) International

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):    B.Eng. (Logistics Engineering)

3. วิชาเอก

วิศวกรรมโลจิสติกส์

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

141 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

5.3 ภาษาที่ใช้

ภาษาอังกฤษ

5.4 การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

5.6การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560

คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 20/2559
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559

สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 4/2560 วันที่ 5 เมษายน 2560

เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา  2560

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562

8.อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ทำงานในหน่วยงานเอกชน – โรงงานอุตสาหกรรม ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          วิศวกรโลจิสติกส์ (Logistics Engineer)

–          วิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer)

–          วิศวกรการผลิต (Production Engineer)

–          วิศวกรโรงงาน (Plant Engineer)

–          วิศวกรคุณภาพ (Quality Engineer)

–          วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)

–          วิศวกรซ่อมบำรุง (Maintenance Engineer)

ทำงานในหน่วยงานรัฐ – รัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          กรมโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม

–          กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

–          สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

–          สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

–          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

–          การนิคมอุตสาหกรรม

–          การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

–          ฯลฯ

ทำงานในธนาคารพาณิชย์ คลังสินค้า สถานประกอบการต่างๆ

เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง – ขนาดย่อม (SMEs)

เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ

9.       ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

9.1   ปรัชญา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เข้าใจในสถานการณ์ของประเทศและของโลก สามารถตอบสนองกับเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 หรือ ดิจิทัล ไทยแลนด์ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ASEAN COMMUNITY รวมทั้งประชาคมโลก โดยมีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาวิชาชีพ มีความเข้าใจในบริบทของโลก บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความพร้อมในการทำงาน รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือ วิสาหกิจตั้งใหม่ (Start Up) หรือประกอบอาชีพอิสระในสังคมพหุวัฒนธรรมและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและอุตสาหกรรมในทุกระดับ

9.2   วัตถุประสงค์ 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

(1)    มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ และวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการในระดับที่สูงขึ้น

(2)       มีความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์งาน และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

(3)       มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพในการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4)       มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสถานการณ์

(5)    มีวุฒิภาวะ ความเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และทักษะในการทำงานเป็นหมู่คณะและเครือข่าย สามารถบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(6)       มีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ

(7)       มีจิตสาธารณะ เสียสละ อุทิศตนเพื่อสังคม ถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ

(8)       มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม

 

 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

 

ข้อมูลทั่วไป

1.รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:       หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ภาษาอังกฤษ:   Bachelor of Engineering  Program in Industrial Engineering

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):       วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย):        วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):   Bachelor of Engineering (Industrial Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):    B.Eng.  (Industrial Engineering)

3. วิชาเอก

3.1    วิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)

3.2    วิชาเอกวิศวกรรมการผลิตและวัสดุ (Manufacturing and Materials Engineering)

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี  หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

5.3 ภาษาที่ใช้

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษบางรายวิชา

5.4  การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม อุตสาหการ พ.ศ. 2555

คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 6/2560
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560

สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรโดยวิธีเวียน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560

เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ทำงานในหน่วยงานเอกชน – โรงงานอุตสาหกรรม ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          วิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer)

–          วิศวกรการผลิต (Production Engineer)

–          วิศวกรโรงงาน (Plant Engineer)

–          วิศวกรคุณภาพ (Quality Engineer)

–          วิศวกรวัสดุ (Materials Engineer)

–          วิศวกรระบบ (System Engineer)

–          วิศวกรโลจิสติกส์ (Logistics Engineer)

–          วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)

–          วิศวกรซ่อมบำรุง (Maintenance Engineer)

นอกจากนี้แล้วยังมีงานอีกมาก เช่น งานติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ งานให้คำปรึกษาในการผลิตและลดต้นทุน งานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ฯลฯ

ทำงานในหน่วยงานรัฐ – รัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

–          กรมโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม

–          กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

–          สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

–          สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

–          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

–          การประปานครหลวง

–          การประปาส่วนภูมิภาค

–          การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

–          การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

–          การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

–          ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  National Metal and Materials Technology Center (MTEC)

–          ฯลฯ

ทำงานในธนาคารพาณิชย์ คลังสินค้า สถานประกอบการต่างๆ

เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง – ขนาดย่อม (SMEs)

การเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถสร้างผู้ประกอบการ SMEs จากพื้นฐานการศึกษาและการฝึกอบรมด้านความเป็นไปได้ของโครงการ การวางแผนธุรกิจ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม   การบริหารงานอุตสาหกรรม ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ

เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ

 

9. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

9.1 ปรัชญา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เข้าใจในสถานการณ์ของประเทศและของโลก สามารถตอบสนองกับเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 หรือ ดิจิทัล ไทยแลนด์ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ASEAN COMMUNITY รวมทั้งประชาคมโลก โดยมีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาวิชาชีพ มีความเข้าใจในบริบทของโลก บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความพร้อมในการทำงาน รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือ วิสาหกิจตั้งใหม่ (Start Up) หรือประกอบอาชีพอิสระในสังคมพหุวัฒนธรรมและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและอุตสาหกรรมในทุกระดับ

9.2 วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

(1) มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ และวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการในระดับที่สูงขึ้น

(2) มีความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์งาน และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

(3) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพในการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสถานการณ์

(5) มีวุฒิภาวะ ความเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และทักษะในการทำงานเป็นหมู่คณะและเครือข่าย สามารถบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(6) มีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ

(7) มีจิตสาธารณะ เสียสละ อุทิศตนเพื่อสังคม ถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ

(8) มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม

(9) มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีจรรยาบรรณ

9.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ตามเกณฑ์ผลลัพธ์ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงาน Thailand Accreditation Body for Engineering Education (TABEE) และพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้

(1) ความรู้และทักษะทางปัญญา

1.1) มีความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์และวิชาชีพทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

1.2) สามารถพิจารณาตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

(2) ทักษะด้านการทำงาน

2.1) วิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นเอกสาร และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิศวกรรม

2.2) สามารถออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์งาน และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

2.3) สามารถสร้าง เลือกประยุกต์ใช้เทคนิค อุปกรณ์ทางวิศวกรรมอุตสาหการ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

2.4) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการในการติดต่อสื่อสารด้วยวาจา การเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม

(3) ทักษะทางสังคม

3.1 มีจิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคม และประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

3.2 รู้จักกาลเทศะ บุคลิกภาพที่ดี มีวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความเข้าใจและยึดมั่นและถือปฏิบัติจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ

3.3 ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ ให้ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สถานการณ์ และความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม

(4) ทักษะด้านการจัดการ

4.1 มีความรู้ความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุนและการบริหารงานวิศวกรรมโดย คำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง

4.2 มีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ

4.3 มีมนุษยสัมพันธ์ มีวุฒิภาวะ ทักษะในการทำงานเป็นทีมและเครือข่าย มีความเป็นผู้นำ