คุณสมบัติ


หลักการทำงาน

ตู้ฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVC)  ใช้ฆ่าเชื้อโรคโดยแขวนหน้ากากภายในตู้อบ  15  นาที  โดยการอบฆ่าเชื้อโรคหน้ากาก N95  ด้วยตู้ UVC  นอกจากการทดสอบตู้อบ UVC  ต้นแบบจากภาควิชาจุลชีววิทยา  คณะแพทยศาสตร์  ม.ขอนแก่น  แล้วยังมีผลการทดสอบจากทีม รพ.รามาธิบดี MTEC BIOTEC และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์  ได้สรุปว่า  การอบฆ่าเชื้อโรค หน้ากาก  N95 ด้วยตู้  UVC เป็นเวลา  30 นาที  สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 และใช้ซ้ำได้  8 ครั้ง  โดยประสิทธิภาพยังคงใกล้เคียงเดิม  ทั้งนี้ ตู้อบ  UVC ที่ใช้จะเป็นชนิดที่มีขายตามท้องตลาด  และมีหลอดไฟขนาด  4  watts

การออกแบบ  

 ขนาดตู้ :   ขนาด 0.42× 0.68 ×  0.95 m3

(หลอดไฟขนาด  20 watts  4  หลอด)

และ  0.42 × 0.62 ×  0.70  m3

(หลอดไฟขนาด  10  watts  6  หลอด)

อุปกรณ์ :  ไม้  เนื่องจากมีรายงานว่าวัสดุชีวภาพ  จะสามารถดูดซับแสง  UVC  ซึ่งจะทำให้แสงไม่รั่วออกมา  รอบตู้ในขณะใช้งาน

ผลการวิจัย

 ผลการทดสอบระดับแสง  UV  ในตู้และรอบตู้อบ  พบว่า  ระดับเข้มแสง  UV  ภายในตู้มีค่าระหว่าง  0.198 – 0.656 mW/cm2    โดยมีหลอดไฟ   UVC ขนาด  20 watts  จำนวน  4  หลอด  สำหรับตู้อบ  UVC  ขนาด 0.42 ×  0.68 × 0.95 m3  และ  0.211 – 0.984  mW/cm2   โดยมีหลอดไฟ  UVC ขนาด 10 watts  จำนวน  6 หลอด  สำหรับตู้อบ  UVC  ขนาด  0.42 ×  0.62 × 0.70  mตามลำดับ  และพบว่า ภายนอกตู้มีค่าความเข้มแสงของ  UVC   เป็นศูนย์

ผลการทดสอบ

การทดสอบการฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา  โดยใช้เชื้อ  Herpes  simplex  virus  Dengue  virus  Staphylococcus   aureus  Bacillus  spp.  และสปอร์ของ  Aspergillus  พบว่า การฉายแสง  UV   ภายในตู้อบที่เวลา  10 นาที  ในทุกตำแหน่งของโครงแขวนหน้ากาก  สามารถทำลายเชื้อไวรัสให้หมดความสามารถในการติดเชื้อ  ส่วนเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  สามารถลดปริมาณเชื้อลงได้  105 เท่า  (ถ้าการปนเปื้อนน้อยกว่า  105 เซลล์  สามารถกำจัดได้หมด  ซึ่งในทางปฏิบัติการมีโอกาสน้อยมากที่จะปนเปื้อนมากถึง  10เซลล์ )  ขณะที่การอบแสงนาน  20 นาที  สามารถกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา ได้หมด  ทีมผู้ทดสอบจึงแนะนำให้อบหน้ากากอนามัยด้วยแสง  UVC  นาน  15 นาที ก็เพียงพอ ( แม้ผลการทดสอบแสดงว่า 10 นาที ก็เพียงพอแล้ว  แต่เลือก 15 นาที    เป็นการเพิ่มความมั่นใจ  และที่ 20 นาที  จะนานเกินความจำเป็น )  ( การทดสอบโดย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ระหว่างวันที่  26 มีนาคม ถึงวันที่  3  เมษายน  2563)  โดยแสง  UVC  ที่ความยาวคลื่น  254  nm  ต้องมีความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า  0.198  mW/cm2
ตู้อบ UVC ฆ่าเชื้อโควิด19 สำหรับหน้ากาก N95 ที่ทีมงานนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และ มทร. ขอนแก่น ได้ช่วยกันพัฒนาและผ่านการทดสอบและใช้งานเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ทีมงานคณะวิศวฯ. มข พร้อมขยายผลในการผลิตที่อัตราการผลิต 20 ตู้ต่อเดือน ต้นทุนการผลิตตู้ละ 12,000 บาท

 

#ENKKU# อุทิศตนเพื่อสังคม
ท่านใดสนใจบริจาคเพื่อจัดหาให้ รพ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ติดต่อมาได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ


  1. บริจาค หรือ ซื้อนวัตกรรมดั่งกล่าว ผ่านหมายเลขบัญชี
    5513026626 ไทยพานิชย์  บัญชีเงินรายได้
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์
    คุณสามารถนำยอดเงินที่บริจาคให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
  2. ติดต่อสอบถาม
    โทรศัพท์ : 0819891983  Line : 0819891983
    รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร
    คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น