เมื่อวันที่  12 พฤษภาคม 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 7th KKU International Engineering Conference (KKU-IENC2021) โดยมีหัวข้อหลักคือ “The 21st Century Technology and Innovation for Socio-Economic Changes” โดยได้รับเกียรติจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล เป็นประธานในพิธี และ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานในครั้งนี้

รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีและประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ (General Chair) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “งานประชุมวิชาการนานาชาติ KKU-IENC2021 เป็นการเปิดเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในทุกสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยีได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัย โดยร่วมนำเสนอบทความวิชาการและผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ เพื่อขยายผลแห่งองค์ความรู้ที่เกิดจากการค้นคิดการวิจัยให้เผยแพร่และเกิดประสิทธิผลในวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมจากองค์กรต่างๆ จากกว่า 12 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้นำเสนอบทความกว่า 60 คน และผู้ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 150 คน สำหรับหัวข้อในการนำเสนอ แบ่งเป็น 10 หัวข้อ ได้แก่

– Topic A: Civil Engineering and Construction Technology

– Topic B: Electrical Engineering, Electronics and Telecommunication

– Topic C: Agricultural Engineering and Food Technology

– Topic D: Industrial Engineering, Logistics and Supply Chain

– Topic E: Energy Technology, Thermal Systems and Applied Mechanics

– Topic F: Environmental Engineering and Management

– Topic G: Chemical Engineering

– Topic H: Computer and Information Technology

– Topic I:  Materials Science and Engineering

– Topic J : Biomedical Engineering and Technology”

 

ทั้งนี้ รศ.ดร.จีรนุช เสงี่ยมศักดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ (General Co-Chair) ได้เปิดเผยว่า “การประชุมวิชาการนานาชาติ KKU-IENC2021 ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการจัดประชุมวิชาการนานาชาติแบบผสมผสานครั้งแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งเป็นแบบออนไลน์ (Online) และ ออนไซต์ (Onsite) ณ ห้องสมุดภูมิภิรมย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน โดยคณะฯ ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการระบาดตามนโยบายของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเคร่งครัด ซึ่งจำกัดผู้เข้าร่วมในแบบออนไซต์ ไม่เกิน 40 คน” ทั้งนี้ รศ.ดร.จีรนุช เสงี่ยมศักดิ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทางคณะฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งในและนอกประเทศ คณะฯได้รับเกียติจากท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และท่านรองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นองค์ปาฐกถา (Keynote Speaker) นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันต่างๆ ที่คณะฯมีความร่วมมือทางวิชาการทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านวิศวกรรมมาร่วมเป็นองค์ปาฐกถา (Keynote Speaker) อีกสองท่าน และวิทยากรรับเชิญ (Invited Speaker) จำนวน 13 ท่าน จากกว่า 8 ประเทศ โดยมีรายนามดังต่อไปนี้

 

องค์ปาฐกถา (Keynote Speaker) จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

  1. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม  ประเทศไทย
  2. Prof. Hideyuki Sawada, Waseda University ประเทศญี่ปุ่น
  3. ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประเทศไทย
  4. Prof. Chitsan Lin, National Kaohsiung University of Science and Technology ประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

 

วิทยากรรับเชิญ (Invited Speaker)

  1. Prof. Eakalak Khan, University of Nevada, ประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. Assoc. Prof. C.W. Daniel Tsang, Hong Kong Polytechnic University,
    เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  3. ดร. วิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มวัสดุกอสราง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  4. Dr. Steven H. Voldman, IEEE Fellow, ประเทศสหรัฐอเมริกา
  5. Prof. Jean-Christophe Lapayre, University of Franche-Comté, สาธารณรัฐฝรั่งเศส
  6. Assoc. Prof. Julien Henriet, University of Franche-Comté, สาธารณรัฐฝรั่งเศส
  7. Prof. Atsushi FUKUDA, Nihon University, ประเทศญี่ปุ่น
  8. Dr. Kesorn Pechrach Weaver, Founder and director: Ronsek Innovation and Nertune, สหราชอาณาจักร
  9. Prof. Jozo Acksteiner, Fulda University of Applied Sciences, สหพันธรัฐเยอรมนี”

 

ทั้งนี้ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานประชุมวิชาการนานาชาติ KKU-IENC2021 นี้ จะเป็นเวทีที่ทำให้นักวิชาการและนักวิจัยทั่วโลกได้จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสามารถนำความรู้ไปพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและสังคมโลกต่อไปได้”

In this article