ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  อุดมศึกษา ประเทศไทย ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี  2558 (ACM-ICPC Thailand Northeastern Programming Contest 2015) ณ   คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยงานนี้มี รศ.ชินะวัฒน์ มุกตพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการแข่งขันครั้งนี้
     ผศ.ดร.ภัทรวิทย์  พลพินิจ  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หัวหน้าทีมจัดงานฯ กล่าวว่า  การจัดแข่งขันในครั้งนี้ มีความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี ต้องขอบคุณทีมงานทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทุกท่าน ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดการแข่งขัน ACM-ICPC (ACM International Collegiate Programming Contest) สำหรับการแข่งขันการเขียนโปรแกรมในระดับอุดมศึกษาระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงที่สุด  โดยเน้นการพัฒนาด้านการแก้ปัญหา  ให้ผู้เข้าแข่งขันได้แก้ปัญหา ภายใต้สภาวะที่กดดัน ผู้แข่งขัน 3 คน จะต้องแก้ไขปัญหา 8 – 11 ข้อ ภายในเวลา 3 ชั่วโมง โดยมีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งการจัดครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการสร้างทักษะ ความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ความรู้ด้าน การแก้ปัญหาของนักศึกษา เพื่อสร้างกิจกรรมทางวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับมหาวิทยาลัยและประเทศไทย รวมถึงเป็นเวทีในการสร้างนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ของประเทศที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงกระตุ้นอย่างต่อเนื่องมายังสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น โดยปีนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาเตรียมความพร้อมผู้เข้าแข่งและจัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ACM-ICPC ประเทศไทย ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างเวทีในระดับท้องถิ่นก่อน การแข่งขันระดับประเทศ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขัน เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาในด้านการแก้ปัญหา รวมทั้งเพิ่มทักษะในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น โดยมีผลการแข่งขันมีดังนี้
     ชนะเลิศ คือ ทีม ForTheWatch ผลงานของ นายกิตติพงษ์ โยทัยเที่ยง นางสาวบุษยา เภาทรา นายณพวงศ์  สมอ่อนโดยมี อ.ดร.สิลดา อินทรโสธรฉันท์ เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     รองชนะเลิศ อันดับ 1 คือ ทีม  CoE KKU EN#52 ผลงานของ  นายนพพล รัตนมณี นายพสิษฐ์ ติวาวงศ์รุจน์ และนายพชรกฤต วาณิชชาสถิต โดยมี อ.ดร.วาธิส ลีลาภัทร เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     รองชนะเลิศ อันดับ 2 คือ ทีม   Lomanoi ผลงานของ  นายวิสกร เสี่ยงวิฐาน นายปฏิภาณ ผลผดุง และนายภาณุวัฒน์ แสงเลิศ โดยมี อ.ทิพา กองศรีมา เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม  จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
     รางวัลชมเชย คือ ทีม SteamInvited  ผลงานของ นายวันนเรศวร์ สิงหัษฐิต นายอภิรักษ์ มีชัย และนายปราโมช บุญล้อมโดยมี อ.ดร.เกรียงศักดิ์ ตรีประพิณฉันท์ เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     รางวัลชมเชย คือ ทีม CoE Bonobo  ผลงานของ นายวัตสัน หอมสิน นายนราวิชญ์ วิถี และนายชาญยุทธ เรืองสกุล โดยมี อ.ดร.วาธิส ลีลาภัทร  เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     รางวัลชมเชย คือ ทีม Freeman ผลงานของ นายพยงค์กิจ หลักหาญ นายกวินธร สระสมศรี และนายคำภีร์ โสนาอุ่น โดยมี ผศ.ดร.เจษฎา ตันฑนุช  เป็นอาจารย์ผู้ควบคุมทีม จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
In this article