เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการปรับปรุงแบบก่อสร้างและกระบวนการก่อสร้างฝาย มข.2527 โดยมี รองศาสตราจารย์รัชพล  สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คุณสุรชัย  นิ่มละออ Managing Director-Upper Mainland and Border Market บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ และผู้ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์รัตมณี  นันทสาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คุณศิริมงคล  ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการ CPAC Solution Center-ขอนแก่น ณ ห้องสัมมนา 2 ชั้น 9 ตึกเพียรวิจิตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์รัชพล  สันติวรากร กล่าวว่า ในนามของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่าน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ การปรับปรุงแบบก่อสร้างและกระบวนการก่อสร้างฝาย มข.๒๕๒๗ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ในวันนี้

การบริหารจัดการน้ำ ตามโครงการปรับปรุงแบบก่อสร้างและกระบวนการก่อสร้างฝาย มข.๒๕๒๗ นี้ ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่การวิจัย การสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และการบริการวิชาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย และสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ และการพัฒนาบุคลากร รวมถึง การพัฒนาองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การถ่ายทอด และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของภาครัฐ ที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด และเป็นต้นแบบขยายผลไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด จะทำให้การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

คุณสุรชัย  นิ่มละออ กล่าวว่า ในนามของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางภาครัฐ และสถาบันการศึกษา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำ อีกทั้ง ยังประสานความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ อาทิ โครงการการปรับปรุงแบบก่อสร้างและกระบวนการก่อสร้างฝาย มข.2527 รวมไปถึงความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การถ่ายทอด และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และเทคโนโลยี ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาความรู้การบริหารจัดการน้ำ ต่อไป

เอสซีจี พร้อมให้การ สนับสนุนตามแนวนโยบายของภาครัฐ เพื่อช่วยขับเคลื่อนและผลักดันให้โครงการดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จนเกิดเป็นความร่วมมือตามโครงการบริหารจัดการน้ำ จากแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ SCG ที่ยึดหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ที่ให้ความสำคัญและคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม

และความเป็นบรรษัทภิบาลเป็นสำคัญ และมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของประเทศ ให้เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการก่อสร้าง ด้วย “Green Solution” เกิดการใช้ทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยน Waste หรือความสูญเสียให้เกิดเป็น Wealth เพื่อสร้างประโยชน์กลับคืนสู่สังคม ด้วยการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้า ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง การดูแลหลังก่อสร้าง เพื่อช่วยแก้ปัญหา การก่อสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย CPAC นำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ใช้ในการก่อสร้าง” (Digital & Construction Technology) อาทิเช่น

  • CPAC Drone Solution นวัตกรรมในการประเมินพื้นที่เพื่อให้เห็นภาพรวมของพื้นที่ลดความผิดพลาดในการก่อสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่เกิดความปลอดภัย ลดเวลาก่อสร้าง
  • CPAC BIM ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Ecosystem) เห็นภาพรวมของงานก่อสร้างในทุกขั้นตอน ลดงานตีกลับ (Reject), การทำงานซ้ำ (Rework) และลดความสูญเสีย (Waste)
  • CPAC 3D Printing Solution เป็นนวัตกรรมการก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยออกแบบและควบคุมกระบวนการก่อสร้าง สามารถพิมพ์รูปโครงสร้างและตัวอาคารตามรูปแบบที่ต้องการ ลดระยะเวลาทำงาน ลดการใช้แรงงาน ลดเศษวัสดุในพื้นที่งานก่อสร้าง

เพื่อเป็นการตอกย้ำเจตนารมย์อันแน่วแน่ของบริษัทฯ ที่จะยกระดับและพัฒนาการก่อสร้างของประเทศ ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

In this article