เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2567 Southwest Jiaotong University, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดให้มีการแข่งขัน 2024 -2025 UIC Trainrail UIC Hackathon ระดับภูมิภาค Asia-Pacific ขึ้น ในธีม “What can be improved in the rail transport mode that will enrich the passenger experience, develop freight capacity, and streamline rail operation?” โดยการแข่งขันหลักจัดขึ้นที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสถานที่จัดการแข่งขันย่อยในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับการแข่งขันหลักผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ โดยการแข่งขันได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พนักงานของบริษัทในอุตสาหกรรมรถไฟ และพนักงานของบริษัทสตาร์ทอัพในภาคอุตสาหกรรมรถไฟหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีทักษะและความรู้ในการนำเสนอและพัฒนาโครงการนวัตกรรมเข้าร่วมแข่งขัน สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ในการแข่งขัน จะได้รับใบประกาศนียบัตร เงินรางวัล และโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลกในฐานะตัวแทนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อไป

สำหรับในประเทศไทยนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 4 ทีม เป็นนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูงจำนวน 18 คน ได้แก่ นายกลวัชร เจริญชัยสงค์ นายอภิชัย ช่างพิมพ์ นายณัชพล สุทธิกุล นายปฐมโชค เชาว์ชื่น นางสาวอชิรญา ภูหงส์ นายอภิสาร จันทรสมดีนายณัชนนท์ เผ่าผาง นายพิธิวัฒน์ อังศุวิริยะ นางสาวมนัญชรัตน์ เพชรวิสัย นายวรพล ด้วงงาม            นายปัณณวิชญ์ มงคลปิยะโรจน์ นายธนพล มโนชัย นางสาวพิรญาณ์ วงศ์พิพันธ์ นางสาวณัฐวดี ศรีรักษา นายธีรศักดิ์ชัย ศิริชนะ นายสุรวุฒิ ชิตไธสง นายธีรพล บุญทศ นางสาวพิมพกา ขวัญต่อ  โดยในการแข่งขันรอบแรกให้นักศึกษาได้ให้นักศึกษาจัดทำคลิปนำเสนอผลงานให้กรรมการพิจารณา ซึ่งในรอบนี้ นักศึกษาจากคณะวิศวฯ ได้ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเป็นตัวแทนประเทศไทย จำนวน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ชื่อผลงาน Train Station Luggage Check-in Service โดยได้นำเสนอแนวความคิดในการให้บริการที่สถานีรถไฟคล้ายกับการเช็กอินสัมภาระที่สนามบิน โดยผู้โดยสารสามารถฝากสัมภาระหนักได้โดยไม่ต้องแบกสัมภาระเอง  โดยมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 4 คน คือ  นายกลวัชร เจริญชัยสงค์ นางสาวอชิรญา ภูหงส์ นางสาวพิรญาณ์ วงศ์พิพันธ์ นายพิธิวัฒน์ อังศุวิริยะ และกลุ่มที่ 2 ชื่อผลงาน Passenger Valuables Anti-Loss Service at Train Stations โดยได้เสนอแนวความคิดในการแนะนำบริการที่สถานีรถไฟ ซึ่งผู้โดยสารสามารถติดป้ายอิเล็กทรอนิกส์กับสิ่งของมีค่าของตนเองทุกชิ้นเมื่อเข้าสถานี เมื่อออกจากสถานี ระบบจะส่งสัญญาณเตือนหากมีสิ่งของที่ติดป้ายถูกลืมไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งของมีค่าถูกลืมทิ้งไว้ โดยมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 4 คน คือ นายอภิชัย ช่างพิมพ์ นายธนพล มโนชัย นายวรพล ด้วงงาม  นางสาวมนัญชรัตน์ เพชรวิสัย  หลังจากนั้นนักศึกษาทั้งสองกลุ่มได้รวมเป็น 1 กลุ่ม เพื่อเป็นตัวแทนจากประเทศไทยนำเสนอแนวความคิดของทั้งสองเข้าด้วยกัน เพื่อแข่งขันกับทีมจากประเทศอื่นๆ จำนวน 18 ทีม โดยผลการแข่งขัน นักศึกษาตัวแทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รางวัลที่ 2  โดยมีทีมจากประเทศอื่นๆ อีก ที่ได้รับรางวัลนี้อีก 5 ทีม

การแข่งขัน UIC Trainrail UIC Hackathon ได้จัดการแข่งขันมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว การแข่งขันนี้มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและประเด็นการพัฒนาของอุตสาหกรรมรถไฟทั่วโลก โดยจัดในรูปแบบของ “Creator Marathon” เพื่อรวบรวมบุคลากรผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม และสนับสนุนการสร้างต้นแบบผลงานสร้างสรรค์ พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดและโซลูชันที่มีศักยภาพสำหรับแก้ไขปัญหาที่แท้จริงในอุตสาหกรรมรถไฟ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้บุคลากรในอุตสาหกรรมรถไฟทั่วโลกได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงลึก ซึ่งช่วยเสริมสร้างพลังงานใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ และโอกาสใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมรถไฟการแข่งขัน UIC TrainRail Hackathon แบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก คือ

การแข่งขันระดับภูมิภาค

จะจัดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น เอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอื่น ๆ

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลก

จะจัดขึ้นพร้อมกับการประชุม UIC World Congress on Rail Training (WCRT) โดยผู้ชนะจากการแข่งขันระดับภูมิภาคจะได้เข้าสู่การแข่งขัน WCRT และร่วมแข่งขันกับผู้มีความสามารถจากอุตสาหกรรมรถไฟในเวทีระดับนานาชาติ

ข่าว : นางสาวบุษราภรณ์ อินทร์ตาแสง
ภาพ : นายฉัตรปกรณ์ คงศรีสรรค์

In this article