เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติเป็นตัวแทนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพิธีรับมอบ Robotic Arms รุ่น Python 450-B6 และ Mantis 570-A3 จากบริษัท Robot Phoenix สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จัดขึ้น ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอาคันตุกะผู้แทนเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีรายนามดังนี้
1. Mr. Feng WEI ตำแหน่ง Founding Partner of COCOCAPITAL Shanghai
2. Mr. Sai ZHANG ตำแหน่ง Founder & CEO of Robot Phoenix
3. Mr. Jay TEO ตำแหน่ง CEO of AMW Tech
4. Mr. Yoshihiro HARA ตำแหน่ง Managing Director of COCOSPACE Japan
5. Mr. Ran CHEN ตำแหน่ง Director of Overseas Sales of Robot Phoenix
6. Ms. Jiaojiao WANG ตำแหน่ง Investor Relations Manager of Robot Phoenix
7. Mr. Qinggang DENG ตำแหน่ง Solutions Engineer of Robot Phoenix
        โดยในพิธีรับมอบ Robotic Arms ในครั้งนี้ มีผู้แทนรับมอบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. นำโดย รศ.ดร. รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร. จีรนุช เสงี่ยมศักดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและการต่างประเทศ รศ.ดร. ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ รศ.ดร. ประมินทร์ อาจฤทธิ์ ประธานหลักสูตร ESE ผศ.ดร. วศกร ตรีเดช และอ.ดร. สรอรรถ ธนูศิลป์ โดยผู้แทนได้ร่วมต้อนรับอาคันตุกะ และได้นำชมคณะฯ อาทิ สถาบัน KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute และห้องสมุดภูมิภิรมย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
        สำหรับพิธีการรับมอบ Robotic Arms ในครั้งนี้ รศ.ดร. รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงความสำคัญสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ว่า “Robotic Arms เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริการหลายสาขาในภาคอุตสาหกรรม โดยการใช้ Robotic Arms จะเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการทำงาน นอกจากนี้ ระบบ Robotic Arms ยังมีการใช้งานในหลายศาสตร์ เช่น สาขาวิศวกรรม และทางการแพทย์ โดยที่เครื่องมือนี้จะสร้างโอกาสในการศึกษาและค้นคว้าด้านการวิจัยและพัฒนาต่อไป และคณะวิศวกรรมศาสตร์เอง ยังคงทำหน้าที่ที่จะสร้างสรรค์และเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาและการวิจัย โดยที่เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเช่น Robotic Arms โดยเฉพาะรุ่น Python 450-B6 และ Mantis 570-A3 ที่ได้รับมอบนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะของนักศึกษาให้ตรงความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน”
        และในบ่ายของวันดังกล่าว ผู้แทนคณะฯ นำโดย ผศ.ดร. วศกร ตรีเดช ได้นำอาคันตุกะจากบริษัทฯ ชมสาธิตการใช้โดรนในการเกษตรแปลงพืชไร่ โดยมี รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ และทีมวิจัยจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ที่เป็นผู้สาธิตและบรรยายทักษะการใช้โดรน หลังจากนั้น ทั้งสองหน่วยงาน ได้ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน ณ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร เพื่อสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
In this article