การเสริมสร้างการเรียนรู้ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดเฉพาะในรูปแบบของเอกสาร ตำราวิชาการ การเรียนในห้องเรียน หรือแม้แต่การศึกษาในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยผ่านสื่อการเรียนต่างๆ ที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน จะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ดังเช่นภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการให้นักศึกษาได้นำความรู้ทางทฤษฎีที่เรียนในห้องเรียนเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานและการเรียนโดยการจำลองออกมาในรูปของกลไกต่างๆ จากสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์นอกเหนือจากการเรียนแต่ทฤษฎีในห้องเรียน ภาควิชาฯ จึงได้จัดการประกวดแข่งขัน กลไกประดิษฐ์ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพของกลไกประดิษฐ์ เพื่อปรับใช้ในการเรียนและการประกอบอาชีพในอนาคต
       รศ.ดร.สมชาย  ชวนอุดม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร เปิดเผยว่า วิชาทฤษฎีเครื่องจักรกลเกษตร เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการเรียนรู้และการวิเคราะห์กลไกต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการในการวิเคราะห์ และการเรียนการสอนผ่านสื่อการสอนต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของเอกสารและตำราเรียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจทำให้นักศึกษาให้ความสนใจในเนื้อหาของวิชาการน้อยลง ดังนั้นทางภาควิชาวิศวกรรมเกษตร โดยการสนับสนุนจาก ผศ.ดร.ชัยยันต์  จันทร์ศิริหัวหน้าภาควิชาฯ ผศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ รองหัวหน้าภาควิชาฯ และ อ.ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน เลาขานุการภาควิชาฯ จึงได้มีแนวคิดว่าควรมีการสร้างกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้และลงมือปฎิบัติการ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้และช่วยให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพของเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนรู้เข้าสู่การปฎิบัติงานจริง รวมทั้งเป็นการเพิ่มทักษะด้านจินตนาการการมองเห็นภาพการทำงานของจักรกลเกษตรให้กับนักศึกษา โดยอาศัยรูปแบบของการจัดประกวดกลไกประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนการสอนให้ไม่เป็นไปแต่ในทางทฤษฎี ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้มีโอกาสการนำเอาวิชาการและทฤษฎีที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ให้ได้เกิดผลงานจริง และยังเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนนักศึกษาจะได้รับความสุขสนุกสนานและทำให้วิชาทฤษฎีเครื่องจักรกลเกษตร เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมประกวด จำนวน 46 คน เป็นผลงานจำนวน 19 ผลงาน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ณ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร โดยมี  อ.ดร.ชัชวาล   อัยยาธิติ  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานและมอบใบประกาศณียบัตรให้กับผู้ที่ได้รับรางวัล โดยมีผลการประกวดดังนี้
รางวัล  ชนะเลิศ
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “กลไกคีบ”
ผู้ประดิษฐ์
1. นายโชคชัย  ซุยอุ้ย
2. นายสุทธิพงษ์  ทะวิลา
3. นายชาญชัย  มีสนาม
รางวัล  รองชนะเลิศ
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “BPM gear train”
ผู้ประดิษฐ์
1. นายคฑาวุธ  ศรีโสดาพล
2. นายจุลดิศ  ทองตัน
3. นายพีรเมธ  จุฑานันท์
รางวัล  ชมเชยที่ 1
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “Blackhole arm”
ผู้ประดิษฐ์
1. นายนำขบวน  หมื่นกัลยา
รางวัล  ชมเชยที่ 2
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “Vertical conveyor”
ผู้ประดิษฐ์
1. นางสาวธัญชนก  โมรา
2. นายศุภณัฐ  ลัภกิตโร
3. นายอัฑฒสิทธิ์  สุรเสียง
รางวัล  ชมเชยที่ 2
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “Clean transporter”
ผู้ประดิษฐ์
1. นายธนวร  สันธนะสุรางค์
2. นางสาวบุณยนุช  หัสมินทร์
3. นายวัชเรนทร์  ทองผา
รศ.ดร.สมชาย/ข้อมูล 
จารุณี/เรียบเรียงข่าว
พิพัฒน์พงศ์/ภาพ
In this article