เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 ผศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ได้พา Prof. Fumihiko Nakamura รองอธิการบดี Yokohama National University ได้เข้าเยี่ยม รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อจากนั้นได้ Prof. Fumihiko Nakamura ได้เข้าเยี่ยมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ชินะวัฒน์ มุกตพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.วีระพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย บัณฑิตศึกษา และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ ผศ.ดร.ลัดดา ตันวาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับ ต่อมาได้เดินทางมายังภาควิชาวิศวกรรมโยธา เพื่อเข้าพบพบปะหารือ ความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ โดยมี รศ.ดร.เฉลิมชัย พาวัฒนา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและคณะ ให้การต้อนรับ นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความร่วมมือทางด้านวิชาการและด้านวิจัยของทั้งสองฝ่ายด้วย  ในวันเดียวกัน เวลา 13.30น. ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน และภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง Mobility Design & BRT Strategy    โดย Prof. Fumihiko Nakamura รองอธิการบดี Yokohama National University ณ ห้องสัมมนา 2 ตึกเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.ชินะวัฒน์ มุกตพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวต้อนรับและเปิดการบรรยายพิเศษ ซึ่งในการบรรยายพิเศษในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ความรู้เรื่อง Mobility Design & BRT Strategy แก่ผู้เข้าร่วมฟัง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้าฟังการบรรยาย ซึ่งจังหวัดขอนแก่นเป็นประตูสู่ประเทศอินโดจีน และยังเป็นศูนย์การศึกษา การขนส่งและ โลจิสติก และศูนย์ศูนย์กลางทางการแพทย์ จังหวัดขอนแก่นยังเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่การพัฒนาเมือง ทางเศรษฐกิจ ประชากร การจ้างงาน การพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน และยานพาหนะที่จดทะเบียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งที่ริเริ่มโดยรัฐบาลไทยจำนวนโครงการโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่สำคัญ เช่น การพัฒนารถไฟรางคู่ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ และโครงการอื่นๆ เร็วๆนี้จะมีการดำเนินการในจังหวัดขอนแก่น จะช่วยผลักดันขอนแก่นเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แต่ผลข้างเคียงที่โชคร้ายของการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นประสบการณ์ที่มีความแออัดของการจราจรอุบัติเหตุบนท้องถนนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีผู้เข้าฟังการบรรยายพิเศษประมาณ 50 คน

 

 

ผศ.ดร.พนกฤษณ/ข่าว
จารุณี/รายงาน

In this article