เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ Mitsubishi Company (Thailand) Ltd. ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีและสาธิต การทำงานของระบบขับขี่อัจฉริยะ ภายใต้โครงการ “Development of an automatic mobile robot prototype for security sector” ซึ่งหุ่นยนต์เคลื่อนที่ทำงานในลักษณะ Partial autonomous vehicle รถพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก ขับขี่แบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบตรวจจับสิ่งกีดขวางด้วย Ultrasonic/Lidar ตัวรถกำหนดตำแหน่งจากดาวเทียมด้วยระบบ GNSS RTK (Global Navigation Satellite System Real-Time Kinematic) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น
รศ. ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดี กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับความร่วมมือจากทางภาคเอกชน Mitsubishi Company (Thailand) Ltd. ที่เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อการศึกษา (ใช้เป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาปริญญาตรีในหลักสูตร Mechanical Engineering/Industrial Engineering/Agricultural Engineering/Automation Robotics and Intelligence System และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) จับมือกันผลักดันให้รถอัตโนมัติ สามารถขับขี่ได้จริง นอกจากจะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวในเชิงพาณิชย์ เช่น อุตสาหกรรมการขนส่ง หรือการจัดเก็บคลังสินค้า การรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมชั้นสูงอย่างเป็นรูปธรรม และเอื้อต่อการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมต่อไป
รศ. ดร.ธนา ราษฎร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ระบบรถขับขี่อัตโนมัติ สื่อสารตำแหน่งของตัวรถผ่านโปรแกรม API (Application Program Interface) ที่ติดตั้งบนตัวรถ ไปยัง RTK base station ผ่านทาง Web provider สถานีฐานจะทำการปรับแก้ตำแหน่งของรถบนเวลาจริง และส่งกลับไปยังรถอัตโนมัติผ่านระบบ GPRS ขณะที่สถานะของอุปกรณ์บนตัวรถถูกดึงไปเก็บไว้บน Computer server ผ่านวิธี MQTT (Message Queue Telemetry Transport) ซึ่งทำหน้าที่เป็น Publisher ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะของตัวรถได้ผ่าน Web base application ซึ่งทำงานผ่าน Google Map API และ RTSP (Real Time Stream Protocol) ซึ่งทำหน้าที่เป็น Subscriber ดึงข้อมูลกลับมา อีกครั้ง การทำงานดังกล่าวทำงานอยู่บน High level control hardware/software architecture ขณะที่ตัวรถและตัวควบคุมแต่ละอุปกรณ์ทำงาน เช่น คันเร่ง เบรค พวงมาลัย ทำงานบนระบบ Low level control hardware/software architecture สื่อสารระหว่างกันด้วย CAN bus และ Normal serial port โดยการปรับตั้งค่า Control law ต่าง ๆ ผ่านระบบ API ด้วยการสื่อสาร แบบ MAV Proxi